|
|
|
|
พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมมา พฺรหฺมจักโก)
(๒๔๔๑-๒๕๒๗)
วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
พรหมมา พิมสาร |
|
|
เกิด |
|
วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านป่าแพ่ง หมู่บ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน |
|
|
บิดามารดา |
|
นายเป็ง และ นางบัวถา |
|
|
พี่น้อง |
|
เป็นบุตรคนที่ ๗ ในจำนวนพี่น้อง ๑๓คน |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๕ ปี ที่วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่อง หรืออำเภอป่าซาง ปัจจุบัน |
|
อุปสมบท |
|
อายุ ๒๐วัดป่าเหียงโดยท่านเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า พรหมจักโก |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมตรีได้ที่วัด |
|
|
|
|
เชตุพนเชียงใหม่ แต่อุปัชฌาย์และญาติโยมไม่อนุญาตให้ไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ท่านจึงหันเหชีวิตแห่งสมณเพศตั้งแต่พรรษาที่ ๔ ไปสู่วิถีแห่งความเป็นนักปฏิบัติธรรมอย่าง เอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์รอนแรมไปตามป่า เขา อย่างไม่กำหนดจุดหมายเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ ไม่เคยไปจำพรรษาในวัดฝ่ายคามวาสี หรือวัดในชุมชนเลย เวลา ๓๖ ปี
ท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ มากมาย จนได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูพรหมจักรสังวร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านได้เป็นพระราชาคณะในที่พระสุพรหมยานเถร |
|
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ อายุ ๘๗ ปี |
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ในช่วง ๒๘ พรรษาของการเดินธุดงค์ ท่านไม่เคยใช้กลดเลย กล่าวกันว่า ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งสมาธิ |
|
|
และสร้อยประคำไม้ที่ท่านสวมประจำ ไม่ไหม้ไฟ เมื่อผ่านการฌาปณกิจ |
ธรรมโอวาท |
|
.... ชีวิตมนุษย์เหมือนหยาดน้ำค้าง ธรรมดาหยาดน้ำค้างที่ใบหญ้า |
|
|
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยต้องไอร้อนก็พลันที่จะหายไป ไม่ต้องอยู่นานฉันใด ชีวิตของมนุษย์ก็ฉันนั้น เมื่อชาติมีแล้วก็มี ชรา พยาธิ มรณะคอยรุมเผา ไม่ให้เป็นไปนาน พลันดับสูญไปไม่ทันไร เกิดแล้วก็แก่เฒ่าเจ็บตาย ยังไม่ทันถึงร้อยปี ..
...ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร พึงเจริญสมาธิ ให้เกิดมีขึ้นในสันดาน เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง" ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม พึงบังเกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และในสมาธิภาวนา พยายามหาโอกาสเวลาสละกิจการน้อยใหญ่ เข้าสู่ที่สงัด หรือห้องพระนั่งขัดสมาธิ หรือ พับเพียบ ตามควรแก่ภาวะของตน น้อมจิต เอากรรมฐาน บทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์ ตั้งสติคอยกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ไปช้า ๆ อย่ารีบด่วน ให้ทำด้วยใจเย็นๆ หายใจ เข้าออก ให้สม่ำเสมอ ให้ละเอียด อ่อนโยน...
...ศีล คือการสำรวม รักษากาย รักษาวาจาให้เรียบร้อย ให้สงบเสงี่ยม ให้บริสุทธิ์สะอาด การที่บุคคลมาสำรวม รักษาศีล ด้วยรักษากาย วาจา ของตนให้เป็นปกติภาพ ให้สงบระงับเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีโทษที่จะเกิดแก่กาย วาจา จัดว่าเป็นศีล...
...ศีลมีอยู่ที่กาย วาจา ศีลไม่มีที่อื่นหรอก มีอยู่ที่กาย วาจาของเรา ที่เราได้สำรวม รักษา ชำระให้บริสุทธิ์สะอาดแล้ว ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นศีล ศีลอยู่ในตัวของเรา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|